อำเภอลำปลายมาศ
LAMPLAIMAT DISTRIC
เดิมบริเวณอำเภอลำปลายมาศเป็นเพียงหมู่บ้านเล็ก ชุมชนกลุ่มน้อย
ไม่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากนัก จวบจนกระทั่งทางราชการได้สร้างทางรถไฟจากนครราชสีมา (สร้างถึงนครราชสีมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2443 และถึงบุรีรัมย์เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2468) ผ่านเข้ามาทางหมู่บ้านแห่งนี้ จึงมีราษฎรหลั่งไหลเข้าจับจองที่ดิน บุกป่าถางพงปลูกบ้านแปงเมือง มีบ้านเรือนจำนวนมากขึ้นโดยลำดับ
เมื่อเส้นทางรถไฟผ่านจนไปสิ้นสุดลงที่อุบลราชธานีแล้ว
จึงมีคนตั้งชื่อหมู่บ้านบริเวณนี้ขึ้น เรียกกันมาตลอดว่า "บ้านหนองยาง"
ช่วงเวลานั้นเมื่อสถานีรถไฟแล้วชาวบ้านก็ยังเรียกชื่อสถานีว่า
"สถานีหนองยาง" ตลอดมา สำหรับคำชาวบ้านทั่วไปมักจะเรียกชื่อกันติดปากว่า
"สะเตหนองยาง" โดยยังขึ้นกับอำเภอนางรอง
ในปี พ.ศ. 2479 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศให้โอนหมู่บ้านและตำบลบางแห่งบางจากอำเภอพิมาย (เขตอำเภอชุมพวงใน
ปัจจุบัน) ของจังหวัดนครราชสีมา ตั้งขึ้นเป็นตำบลโคกสะอาด
โอนตำบลหนองกะทิงและตำบลหนองยางจากเขตอำเภอนางรอง ตั้งชื่อตำบลในนามเดิม
รวมทั้งโอนตำบลทะเมนชัย ตำบลตลาดโพธิ์ และตำบลโคกกลางจากอำเภอเมืองบุรีรัมย์ รวมกันได้ 6 ตำบล ต่อมาได้ประกาศจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอลำปลายมาศ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2479 ขึ้นตรงกับอำเภอเมืองบุรีรัมย์
ที่ว่าการกิ่งอำเภอลำปลายมาศหลังแรกตั้งอยู่ที่บริเวณหน้าตลาดสด
สุขาภิบาลลำปลายมาศ
ปัจจุบันนี้ได้มีชาวจีนมาสร้างอาคารพาณิชย์ค้าขายเป็นจำนวนมากเป็นย่านชุมชน
ขนาดใหญ่ ชาวไร่ชาวนานำผลิตผลทางการเกษตรมาขายเกือบทุกฤดูกาล มีโรงแรมเกิด
ขึ้นหลายแห่ง สถานะเศรษฐกิจทางการเงินแพร่สะพัด
ตำบลและอำเภอใกล้เคียงก็นำสินค้าผลผลิตมาจำหน่ายแลกเปลี่ยนกัน
โดยมีสถานีรถไฟเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า
เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2490 กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอลำปลายมาศขึ้นเป็น อำเภอลำปลายมาศ
ตลาดถนนคนเดินยามแลงลำมาศ
วัน
ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 นายประภาส รักษาทรัพย์
รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดกระตุ้น
ตลาดถนนคนเดินยามแลงลำมาศ โดยมีนายพิศาล เค้ากล้า ปลัดอาวุโส นายทองใจ
ปุยไธสง พัฒนาการอำเภอลำปลายมาศ นายเรวัตร รุ่งเช้า
นายกเทศมนตรีตำบลลำปลายมาศ และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนให้การต้อนรับ ณ
ตลาดถนนคนเดินยามแลงลำมาศ
ขอขอบคุณ ช้อมูลและภาพถ่าย จาก wikipedia
และ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น